หากคุณสนใจสามารถติดต่อสอบถามโดยตรงได้ที่
02 105 6234 หรือ CustomerService@Mushroomtravel.com
อยู่บนเส้นทางไปอำเภอด่านมะขามเตี้ย บ้านกสิกรรม หมู่ 5 ต.เกาะสำโรง หากมาจากวัดถ้ำมังกร เลยจากวัดถ้ำมังกรไปประมาณ 3 กิโลเมตร สามารถเดินทางเข้าไปในกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 1 (กองผสมสัตว์) กรมการสัตว...
เมืองบาดาล ในอดีตเป็นวัดวังก์วิเวการามเดิมที่หลวงพ่ออุตตมะและชาวบ้านอพยพ ชาวกะเหรี่ยงและมอญได้ร่วมก้นสร้างขึ้น เมื่อปี 2496 ต่อมา มีการก่อสร้างเขื่อนเขาแหลมทำให้น้ำเข้าท่วมตัวอำเภอสังขละบุรีเก่ารวมทั้งวัดนี้ด้วย จึงได้ย้ายวัดมาอยู่บนเนินเขา ส่วนวัดเดิมได้จมอยู่ใต้น้ำมานานนับ30ปี ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนมีค.- เมย. ซึ่งน้ำลดจะสามารถสังเกตเห็นตัวโบสถ์ของวัดได้อย่างชัดเจนและสามารถนั่งเรือไปเที่ยวชมได้ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันซีนไทยแลนด์ ในชื่อเมืองบาดาล
ด่านเจดีย์สามองค์ เขตสิ้นสุดชายแดนไทยด้านทิศตะวันตก ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองลู พระเจดีย์สามองค์นี้เดิมเรียกว่า หินสามกอง เป็นที่สักการะของคนไทยโดยทั่วไปก่อนเดินทางออกจากเขตแดนไทยเข้าสู่เขตแดน พม่า ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 พระศรีสุวรรณคีรี เจ้าเมืองสังขละบุรีได้เป็นผู้นำชาวบ้านก่อสร้างเจดีย์ขนาดเล็กสามองค์ดัง ที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ด่านเจดีย์สามองค์ยังเป็นช่องทางเดินทัพที่สำคัญของไทยและพม่าใน อดีต บริเวณด่านเจดีย์สามองค์ มีร้านขายสินค้าจากประเทศพม่า
น้ำตกเกริงกระเวีย ขึ้นอยู่กับเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มองเห็นสายน้ำแผ่กระจายไหลมาจากหลายทิศทาง เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีความสวยงามร่มรื่น เกิดจากลำห้วยเกรงกระเวียไหลผ่านลดหลั่นกันมาตามหินปูนจนเกิดเป็นน้ำตกขึ้น ภายใต้การโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติ ต้นไม้ปกคลุมไปทั่วบริเวณของน้ำตก และยังมีน้ำตกขนาดเล็ก ๆ อยู่กระจายกันในพื่นที่ของน้ำตกเกริงกระเวีย การเดินทางไปยังน้ำตกก็มีความสะดวกสบาย เนื่องจากติดถนนสายหลักบนเส้นทางสู่อ.สังขละบุรี
เมืองมัลลิกา ร.ศ. 124 (Mallika R.E.124) ตั้งอยู่ในอำเภอไทรโยค เป็นเมืองย้อนยุคของวิถีชีวิตชาวสยามบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ วิถีชีวิตของชาวสยามในยุค ร.ศ.124 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายหลายด้าน ที่เด่นชัดมากคือการประกาศเลิกทาส เมื่อทาสได้รับความเป็นไทพวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่อาศัยและทำมาหากินด้วยตนเอง ไม่ได้อยู่ภายใต้อาณัติหรือการดูแลของบรรดาเจ้าขุนมูลนายอีกต่อไป พวกเขาต้องดำรงชีวิตให้อยู่รอด พึ่งตนเอง แสดงถึงการมีเอกลักษณ์ของชาวไทย
สะพานข้ามแม่น้ำแคว (The Bridge on the River Kwai) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่โครงสร้างเหล็กครึ่งวงกลม สลับโครงสร้างถัก ตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี สะพานแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ ที่ต้องใช้ทั้งแรงงานและชีวิตของเชลยศึกหลายหมื่นคน เพื่อให้เกิดเป็นรางรถไฟสายนี้ที่มีความยาวถึง 415 กิโลเมตร สะพานข้ามแม่น้ำแควในปัจจุบันนี้ ได้รับการปรับปรุงและซ่อมแซมโดยการรถไฟแห่งประเทศไทยและกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองกาญจนบุรี